วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2550

นวัตกรรมการศึกษา

3. นวัตกรรมการศึกษา
3.1 นวัตกรรมการศึกษา คือ การนำสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจจะเป็นความคิดหรือการกระทำ หรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยอาศัยหลักการ ทฤษฎี ที่ได้ผ่านการทดลองวิจัยจนเชื่อถือได้ เข้ามาใช้ในการศึกษา เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
3.2 ประเภทของนวัตกรรม
1) Incremental Innovation การปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เดิม มาทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
2) Radical Innovation เป็นการคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่ไม่เคยมีมาก่อน
3) Architectural Innovation การนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาประกอบขึ้นใหม่
3.3 ขั้นตอนการเกิดนวัตกรรม มี ๕ ขั้นตอน คือ 1) การสร้าง นวัตกรรม ได้แก่ การสร้างแรงกระตุ้น การสร้างฐานข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการปรับสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการเกิดนวัตกรรม 2) การรับรู้ ( Recognition ) การสำรวจเพื่อให้เกิดการรับรู้ เปิดโอกาสให้นวัตกรรมระดับ รากหญ้าได้รับการสนับสนุน 3) การพัฒนา ( Development ) ให้สอดคล้องตามอุปสรรค หรือเหตุปัจจัยที่ค้นพบ และสนับสนุนให้เกิดแนวทางแก้ไข จนบรรลุตามวัตถุประสงค์ 4) ดำเนินการ ( Implement ) การนำนวัตกรรมที่ผ่านการคิดค้นสู่การดำเนินการจริง เพื่อเกิดความยั่งยืน โดยเน้นที่ความปลอดภัย 5) การขยายผล ( Diffision ) เป็นการขยายผลตามธรรมชาติ คือ ความนิยมชมชอบ หรือสนับสนุนให้เกิดการขยายผลในเชิงนโยบาย พื้นที่ และกลุ่มเป้าหมาย
3.4 การยอมรับและปฏิเสธนวัตกรรมการปฏิเสธนวัตกรรม มีสาเหตุหลัก 4 ประการดังนี้ 1) ความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ เนื่องจากบุคคลมีความเคยชินกับวิธีการเดิมๆ ที่ตนเองเคยใช้และพึงพอใจในประสิทธิภาพของวิธีการนั้นๆ โดยยากที่จะเปลี่ยนแปลง 2) ความไม่แน่ใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรม 3) ความรู้ของบุคคลต่อนวัตกรรม เนื่องจากบุคคลส่วนมากมีความรู้ไม่เพียงพอแก่การที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ ทำให้มีความรู้สึกท้อถอยที่จะเข้าใจในนวัตกรรมนั้นๆ 4) ข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ ดังกล่าวมาแล้วว่าบุคคลจะปฏิเสธนวัตกรรมด้วยสาเหตุหลัก 4 ประการ ดังนั้นในการกระตุ้นให้บุคคลยอมรับนวัตกรรมนั้นๆ ต้องแก้ไขปัญหาหลัก 4 ประการเอเวอร์เรต เอ็ม โรเจอร์ (Everretle M.Rogers อ้างในณรงค์ สมพงษ์,2530:6) กล่าวถึงกระบวนการยอมรับนวัตกรรมว่าแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน 1)ขึ้นตื่นตัว เป็นขั้นของการที่ผู้รับได้รับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับนวัตกรรมนั้นๆ 2)ขั้นสนใจ เป็นขั้นที่ผู้รับนวัตกรรมเกิดความสนใจว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาที่กำลังประสบอยู่ได้หรือไม่ ก็จะเริ่มหาข้อมูล 3)ขั้นไตร่ตรอง ผู้รับจะนำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาของตนได้จริงหรือไม่ 4)ขั้นทดลอง เมื่อพิจารณาไตร่ตรองแล้วมองเห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะช่วยแก้ไขปัญหาของตนได้ ผู้รับก็จะนำเอานวัตกรรมดังกล่าวมาทดลองใช้ 5)ขั้นยอมรับ เมื่อทดลองใช้นวัตกรรมดังกล่าว แล้วหากได้ผลเป็นที่พอใจ ก็จะเป็นที่ยอมรับนำมาใช้เป็นการถาวร หรือจนกว่าจะเห็นว่าด้อยประสิทธิภาพ หากไม่เกิดประสิทธิภาพนวัตกรรมดังกล่าวก็จะไม่ได้รับการยอมรับจากบุคคลนั้นอีกต่อไป
3.5 การนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษาสำหรับนวัตกรรมกับการศึกษา เมื่อนำนวัตกรรมมาใช้กับการศึกษา ก็เป็นการนำแนวคิดใหม่ๆ ไปใส่การศึกษา เพื่อให้เกิดการพัฒนาในรูปแบบที่เราอยากให้เป็น เช่น อยากให้คนเรียนรู้มากขึ้น เก่งขึ้น ทำวิจัย เกิดความรู้ใหม่ๆ ซึ่งในทางนวัตกรรมการศึกษานั้นคิดว่าต้องเป็นบวกแน่นอน เพราะคงไม่มีใครคิดจะให้การศึกษาถอยหลัง แต่เราก็ต้องดูด้วย เพราะไม่แน่ สิ่งที่คิดว่าเป็นบวกในสังคมหนึ่ง มันอาจจะเป็นลบ กับอีกสังคมหนึ่งก็ได้

ไม่มีความคิดเห็น: